วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร, 2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ นักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง



1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

การ ทำอีคอมเมิร์ชนั้น คงไม่ใช่แค่เพียงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วใครต่อใครก็ต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไปดูกันได้เท่านั้น เพราะหากว่าไปแล้ว เว็บไซต์ก็เหมือน "ภาพพจน์" หนึ่งของบริษัท หากท่านอยากทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงอุปสรรคเหล่านี้ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญวัดชะตาว่าเว็บของท่านจะ รุ่งหรือร่วง

1. การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้า
บางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆ
ที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบายรับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก

2. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยี
มีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป

3. ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง

4. ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บขาดความเชื่อถือ
ดังนั้น เมื่อเปิดเว็บแล้ว ต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า

6. ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี, รูปแบบ, ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น

7. การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก
2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ นักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซของ Thaigem.com ( 
www.thaigem.com )นั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ง่าย หากแต่มาจากการริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการสั่งซื้อ การรักษาความปลอดภัย คุณภาพและการรับประกันในตัวของสินค้าและระบบการชำระเงินที่เชื่อถือได้ เมื่อมีโอกาสไปบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ E-Commerce ครั้งใดก็ตาม ดิฉันเลยยกตัวอย่างความสำเร็จของเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Thaigem.com ที่เป็นเช่นนี้เพราะเว็บไซต์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นเว็บไซต์สัญชาติไทยที่ติดอันดับการขายหลายร้อยล้านแล้ว ยังเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าที่ถือได้ว่ามีอุปสรรคมากในการขายผ่านออนไลน์ นั่นคือสินค้าในหมวดของอัญมณีนั่นเอง วันนี้เลยขออนุญาตนำมาเป็นประเด็นอีกครั้งเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องของการดำเนินธุรกิจในรูปแบบอีคอมเมิร์ซได้มีโอกาสศึกษา และพิจารณาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้าของตนเอง โดยปกติแล้วสินค้ากลุ่มที่มีการนำมาขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของหนังสือ เพลง ภาพยนตร์ และเสื้อผ้า หากจะขายเพชรหรือพลอยในลักษณะออนไลน์แล้วแทบจะมองหาความสำเร็จได้ยากมาก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในการวิจัยสินค้าหมวดหมู่ที่ขายได้บนอินเทอร์เน็ตนั้นพอที่จะสรุปได้ว่าควรจะเป็นสินค้าที่มีลักษณะดังนี้คือ ผู้ใช้มีความคุ้นเคย, มีการพบเห็นหรือจับต้องสินค้าในร้านค้าปกติหรือมีประสบการณ์มาก่อน (เช่นได้ยินได้ชมตัวอย่าง), หรือเป็นสินค้าที่อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล และทั้งหมดนี้ไม่ใช่สินค้าที่มีราคาสูง เมื่อหันมาพิจารณาดูสินค้าที่วางจำหน่ายบนเว็บไซต์ของ Thaigem.com แล้ว อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น การซื้อขายอัญมณีในเวลาปกติก็มีความลำบากอยู่แล้วเนื่องจากมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ซ้ำกันในแต่ละรายการ การที่สามารถไปสู่ความสำเร็จในระดับโลกได้จึงถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาและน่าที่จะเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับผู้ประกอบการายอื่นๆอีกด้วย
เมื่อพิจารณาในด้านของการออกแบบเว็บไซต์, การวางระบบงานด้านการตลาดและ back office นั้น แทบจะกล่าวได้ว่าเข้าถึงความรู้สึกและความกังวลของลูกค้าที่จะเข้ามาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี จนกลุ่มเป้าหมายแทบจะหาเหตุผลในการไม่ทดลองสั่งซื้อไม่ได้เลย ในเว็บไซต์ได้ตอบสนองต่อความกังวลของลูกค้าทุกอย่าง และสร้างระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างดีเยี่ยมดังนี้

1. นโยบายการคืนสินค้า (Return Policy) ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดของสินค้าปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ก็ตามแต่สินค้าจำพวกอัญมณีเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา และจับต้อง Thaigem.com ยินยอมให้ลูกค้าคืนสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ภายใน 30 วัน

2. การรับประกันสินค้า (Gemological Authenticity Certificate) เพื่อความมั่นใจในตัวสินค้า Thaigem.com ได้มีการออกใบรับรองสำหรับสินค้าที่ซื้อบนเว็บไซต์นี้
3. เปิดโอกาสให้ลูกค้ากำหนดราคาซื้อที่พอใจ (Make an Offer) ความจริงแล้วนี่คือรูปแบบของ Auction นั่นเอง การเปิดโอกาสให้ลูกค้าค้นหารายการสินค้าและกำหนดราคาซื้อเป็นนโยบายการตลาดที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง คล้ายกับการซื้อขายปกติที่มีการโต้ตอบ และการหลีกเลี่ยงคำว่า “Auction” สร้างความรู้สึกที่ดีกว่าให้กับลูกค้าอีกด้วย

4. การจัดส่ง (Delivery) เพื่อความมั่นใจ เว็บไซต์แห่งนี้เลือกใช้บริการของ Fedex ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในมาตรฐานการให้บริการในระดับโลก และเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะของรายการสินค้าที่สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย

5. นโยบายการชำระเงิน (Payment System) เพื่อความสะดวก ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่มีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูง (SSL - Secure Socket Layer) หรือผ่านตัวกลางที่เป็น Third Party อาทิเช่น Escrow.com หรือ PayPal เป็นต้น

6. นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) มีการระบุชัดในเรื่องของมาตรฐานของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าเช่นเดียวกับเว็บไซต์มาตรฐานทั่วไป จะเห็นได้ว่าความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซนั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ง่าย หากแต่มาจากการริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการสั่งซื้อ การรักษาความปลอดภัย คุณภาพและการรับประกันในตัวของสินค้าและระบบการชำระเงินที่เชื่อถือได้

มาถึงจุดนี้ เราคงได้คำตอบว่าเหตุใดเว็บไซต์ส่วนใหญ่ของไทยจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก หรือหากประสบความสำเร็จก็เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการขายในประเทศเท่านั้น ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการขายในระดับโลกได้เช่นที่เกิดขึ้นกับ Thaigem.com ถึงเวลาหรือยังที่เว็บไซต์สัญชาติไทยจะมีโอกาสในการสร้างการขายในระดับโลก ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นความสำเร็จของเจ้าของเว็บไซต์เองแล้ว ยังเป็นการนำเงินตราเข้าสู่ประเทศอีกด้วย

37 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาสาระชัดเจนดีนะครับ ข้อมูลครอบคลุมสาระดีครับ การให้คำจำกัดหัวข้อสื่อเด่นชัดคลอบคลุมในความหมายดีครับ แต่เนื้อหาบางส่วนสื่อให้เห็นยังไม่ค่อยชัดเจนนะครับ

    ส่วนมุมมองของผมนั้นอาจมีส่วนปัจจัยต่างๆ เข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งก็อาจกล่าวเสนอแนะเป็นลำดับประเด็นได้ดังนี้ นะครับ

    1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
    ในทางความคิดของผมก็จะมีในเรื่องลักษณะนิสัยของคนไทยเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดจนภูมิสภาพทางการตลาดของผู้บริโภคซึ่งแตกต่างจากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าด้าน E-commerce เป็นอย่างมาก รวมถึงด้านทัศนคติต่างๆของคนไทยที่ยังเข้าระบบที่ยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังด้านไม่ไว้วางใจในด้านธุรกิจประเภทนี้ด้วยนะครับ
    และที่ได้มาใหม่อีกสภาพเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นคือ ความยากจนที่เป็นปัญหาใหญ่ครับ

    2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ น.ศ.คิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
    ผมคิดว่านอกจากปัจจัยที่กล่าวมานั้น น่าจะมีการสร้างพันธมิตรทางการค้าเข้ามามีส่วนช่วยเหลือระหว่างกันด้วยนะครับ อีกทั้งการให้ัฐบาลมามีส่วนช่วยอีกด้วยนะครับ

    ซึ่งจากข้อมูลในบทความนี้ส่วนใหญ่สามารถทำให้มองเห็นถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจ E-commerce ได้เป็นส่วนหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

    ฝากลิ้งค์ ครับ http://ebusinesskorawit.blogspot.com/

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพิ่มเติมน่ะครับ ตะวัน

      E-Commerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) คืออะไร............

      ถ้าจะกล่าวกันสั้นๆก็คือการทำ ”การค้า”ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนกว่านี้



      แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและมีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่ จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

      อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป

      ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง


      ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

      รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546


      หากท่านเป็น คนหนึ่งที่ทำธุรกิจอยู่ ณ ขณะนี้ หรือคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็คงจะเข้าใจแล้วว่าระบบ อีคอมเมิร์ชมีความสำคัญ และ ความจำเป็นต่อระบบการค้าในขณะนี้มากขนาดไหน ......

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ18 สิงหาคม 2555 เวลา 23:00

      ดีมากเนื้อหาดีจริงๆ แต่ อ่าน แล้ว เข้าใจ ยากไปหน่อย ต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายกว่านี้หน่อย จะดีมาก แต่ขนาดนี้ก็ดีละครับ

      ลบ
  2. เนื้อหาสาระชัดเจนดี ครอบครุมดี อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความรู้ใหม่น่ะ (เพิ่มเติม) เกี่ยวกับข้อดีน่ะ

      ข้อดีของการใช้ E-Commerce

      1. การซื้อขายสินค้าแบบ Online สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคาและตัดปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า

      2. ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mail บุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจากผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น

      3. เพิ่มมูลค่าและปริมาณทางการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุน

      4. ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

      5. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น หรือมีโอกาสสัมผัสกับสินค้าหรือบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ เช่น ฟังตัวอย่างเพลง อ่านเรื่องย่อของหนังสือ หรือชมบางส่วนของ VDO ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

      6. กรณีที่เป็นการสั่งซื้อแบบ Digital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที

      7. ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา

      8. ไม่ต้องมีพนักงานนั่งประจำ เพราะสามารถให้บริการแบบอัตโนมัติได้

      9. สามารถเปิดขายได้ตลอด 7 วัน ๆ ละ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด

      10. สามารถเก็บเงิน และโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทอัตโนมัติ

      11. ตอบสนองนักลงทุนได้ทุกระดับ ตั้งแต่มืออาชีพทุนหนา ไปถึงมือใหม่ทุนน้อย

      12. ประหยัดค่าพิมพ์เอกสารแนะนำสินค้า เพราะรายละเอียดทั้งหมด เสนอผ่านเว็บ

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13 สิงหาคม 2555 เวลา 07:32

    ใจความสำคัญมีความชัดเจนดี เข้าใจง่ายคะ
    ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
    ปัญหา
    1. ความยากจนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง โดยทำให้เกิดความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร
    2. นโยบายที่รัฐบาลเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นมาไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
    3. ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคล

    แนวทางการแก้ไข
    1. รัฐต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพและบริการ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง E-Commerce ได้
    2. รัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่ง รวมถึงสมรรถนะด้านการแข่งขันให้แก่สถาบัน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    3. รัฐต้องมีการวางแผนระยะยาวเกี่ยวกับการใช้ระบบ E-Commerce ทั้งในเรื่องของการออกกฎหมายตามหลักสากลและกฎหมายข้างเคียง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพิ่มเติม - ตัวกำหนดการแข่งตัวกำหนดการแข่งขันในระบบ E-Commerce
      - บทบาทของรัฐในการส่งเสริม E-Commerce

      การซื้อขายแบบ E-Commerce จะขึ้นอยู่กับความมั่นใจของลูกค้า ซึ่งเกิดจากความปลอดภัยของระบบ โดยขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่เลือกใช้ รวมทั้งผู้ที่ทำหน้าที่รับรอง Digital Signature ของผู้ซื้อ การให้บริการของบริษัทนั้นๆว่าผู้ที่ใช้บริการได้รับความสะดวกมากน้อยเพียงใด คุณภาพของการบริการ เช่น ความปลอดภัย ความรวดเร็ว ค่าบริการ ข้อผูกมัดในการทำการซื้อขายผ่านระบบ E-Commerce ที่บริษัทกำหนด ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการทำ E-Commerce คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมของตลาดสินค้าและบริการ การประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขาย การกำหนดราคา การส่งมอบสินค้า และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

      บทบาทของรัฐในการส่งเสริม E-Commerce

      กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ได้จัดโครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการส่งออก วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการส่งออกโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยจะจัดทำ Homepage ในลักษณะของ Cyber Mall ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์จากการโฆษณาสินค้าและบริการผ่าน Internet โดยใช้ Web Site ของกระทรวงพาณิชย์ (www.thaiecommerce.net) เป็นประตูที่จะเชื่อมโยง Homepage ของบริษัทธุรกิจส่งออกที่จะเผยแพร่ข้อมูลต่างๆไปสู่ผู้ซื้อทั่วโลก สำหรับธุรกิจส่งออกที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ มีหลักเกณฑ์เบื้องต้นคือ เป็นบริษัทนิติบุคคล ประกอบการค้าสินค้าหรือบริการโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ประกอบธุรกิจผิดศีลธรรม สินค้าหรือบริการมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ เช่น มี Brand Name , ISO , Barcode รับรอง หรืออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ส่งออกของกรมส่งเสริมการส่งออก ตลาดเป้าหมายในระยะเริ่มต้นจะเน้นใน 6 แห่งคือ USA , Japan , Europe , Asia , Australia , Hong Kong โดยสินค้าเป้าหมายคือ อัญมณี และเครื่องประดับ อาหาร สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ ส่วนบริการเป้าหมาย คือ การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร บริการรถเช่า การจองตั๋วเครื่องบินขันในระบบ E-Commerce


      ลบ
  4. เนื้อหาที่ได้อ่านมีความชัดเจนดี

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. (เพิ่มเติมครับ) คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ

      คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง
      ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
      ถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน
      ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
      ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย

      ลบ
  5. เนื้อหาเยอะมาก มีความชัดเจนดี

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    2. เพิ่มเติม ประวัติและประเภทให้น่ะ

      ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป

      การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
      หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย

      ประเภทของอีคอมเมิร์ซ

      มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น

      ลบ
  6. เนื้อหาเยอะ ชัดเจนมากก ครอบคลุมดีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. (เพิ่มเติมน่ะ พี่หยก) สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

      (1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต
      (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต
      (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น
      (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น
      (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ
      (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ
      (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้

      ลบ
  7. เนื้อหาจัดเจน เข้าใจง่ายค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพิ่มเติมน่ะจ๊ะ กิ๊ก

      อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้

      (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
      (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
      (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
      (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
      (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้

      ลบ
  8. ดีมากค่ะเนื้อหาสาระครบถ้วนดีอ่านเข้าใจง่ายค่ะสวยงามเรียบร้อยดีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพิ่มเติมครับ

      แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ

      (1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม
      (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท
      (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

      ลบ
  9. คำตอบ
    1. เพิ่มเติมจ๊ะ

      อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้

      (1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
      (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
      (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
      (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
      (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
      (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น

      อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

      (1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต
      (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์

      ลบ
  10. เนื้อหาอ่านแร้วเข้าใจได้ง่ายค่ะ ไม่สับซ้อน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เพิ่มเติมจ๊ะ เจน

      ทิศทาง e – Commerce ไทย
      ในยุคปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของใครหลายๆคนไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงระบบเครือข่ายสัญญาณต่างๆ ทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นอย่างมาก
      ผลจากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนและสถานประกอบการที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยแพร่ไปแล้ว พบว่า ในรอบ 5 ปีประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไปมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเกือบสองเท่าคือ เพิ่มจากร้อยละ 12.0 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 22.4 ในปี 2553 และสถานประกอบการทั้งใหญ่และเล็กที่มีคนทำงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 10.7 ในปี 2548 เป็น ร้อยละ 16.5 ในปี 2553

      ลบ
  11. ถ้าอยากทำธุรกิจ E-commerce ให้ประสบความสำเร็จควรทำธุรกิจอะไรอะคะ ?
    http://businessthanya.wordpress.com/2012/08/10

    ตอบลบ
  12. ทุกคนล้วนอยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
    และ คนทำธุรกิจทุกคนก็กลัวล้มเหลว
    และธุรกิจล้วนมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น
    เพียงแต่ เราสามารถบริหารอย่างไรให้ความเสี่ยงต่ำที่สุด

    สรุปสั้นๆ คือทุกคนที่ทำธุรกิจล้วนมีความกลัว
    เพียงแต่ คนสำเร็จจะเดินไปข้างหน้า สู้ไปทั้งๆที่กลัว แล้วความสำเร็จก็จะมาหาคุณเอง

    ตอบลบ
  13. เนื้อหาจัดเจนและครอบครุมมากอ่านเข้าใจเนื้อหาเยอะดีค่ะ

    ตอบลบ
  14. เนื้อหาดีมากค่ะ เข้าใจง่าย สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการทำธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง
    แม้ปัจจุบันภาพรวมของการสื่อสารผ่านเครือข่ายออนไลน์จะได้รับความนิยมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฎว่า ยอดการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ดังกล่าว กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
    อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงลักษณะทั่วไปของธุรกิจ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีสัดส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก(มีคนทำงานไม่เกิน 5 คน) มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.5 และเป็นการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C) ร้อยละ 73.3

    ตอบลบ
  15. ดีครับ ชัดเจน เข้าใจง่ายดี มีการเพิ่มเติมข้อมูลอยู่เสมอ

    ตอบลบ
  16. รายละเอียดของเนื้อหาเยอะดีค่ะ อ่านเข้าใจดี

    ตอบลบ
  17. เนื้อหาอ่านเข้าใจได้ง่ายดีค่ะ

    ตอบลบ
  18. อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ

    ตอบลบ
  19. เข้าใจเนื้อหาง่ายค่ะ

    ตอบลบ
  20. เนื้อหาเยอะดีค่ะ น่าจะสรุปทำความเข้าใจเพื่อง่ายต่อผู้อื่นที่เข้ามาศึกษาค่ะ

    ตอบลบ
  21. เนื้อหาชัดเจนดีค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  22. เนื้อหาเยอะดีนะคับ ธุรกิจเหล่านี้อาจจะเป็นธุรกิจใหม่ที่คนไทยยังไม่ค่อยน่าสนใจ

    แต่ในอนาคตผมว่าธุรกิจนี้จะเป็นการเปิดการค้าที่ทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้

    ส่วนตัวผมเองเกี่ยวกับธุรกิจด้านนี้เหมือนกันคับ

    :")

    ตอบลบ
  23. อยากทราบเกี่ยวกับ E-CRM ที่ไม่ประสบความสำเร็จของไทย ที่เป็น case study อ่ะครับ พอทราบกันมั้ย

    ตอบลบ
  24. ไปอ่านเจอบทความนึงมาครับ ดีมากๆ เลยแวะเอามาแบ่งปันครับ

    "10 ข้อควรทำ ก่อนเริ่มทำธุรกิจออนไลน์ และ เว็บไซต์ e-Commerce"
    http://www.tnt.co.th/en/news/130-10-checklist-startup-business-e-commerce

    ตอบลบ
  25. สำหรับใครที่กำลังจะเปิดธุรกิจออนไลน์ กำลังพัฒนาเว็บไซต์ e-Commerce ไม่ควรมองข้าม 10 ประเด็นที่คุณควรทราบและควรทำก่อนจะทำธุรกิจ เว็บไซต์ e-Commerce

    ตอบลบ